-
โครงการเดินการกุศล “เฉลิมพระเกียรตฺสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
-
โครงการประชุมสัมมนา “การพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.๒๕๕๕ กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)
-
โครงการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ๕ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ จำนวน ๑๗๔ วัด
-
โครงการคืนถิ่นเมืองเหนือ ครั้งที่ ๑๒
-
โครงการ ฝึกอบรมวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๗พัฒนา ศักยภาพเยาวชน สตรีและผู้ด้อยโอกาสเพื่อการมีอาชีพที่มั่นคง
-
งานสถาปนา "ชมรมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติจังหวัดระนอง" และการอบรม "โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำสตรีจิตอาสา" ณ โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง
โครงการ “พัฒนาศักยภาพผู้นำสตรีจิตอาสา”
หลักการและเหตุผล
สถานภาพของสตรีไทย
ในสังคมที่ผ่านมา ทัศนคติ และวัฒนธรรม
ประเพณีดั้งเดิม โครงสร้างอำนาจของชายเป็นใหญ่ เป็นผู้นำทางสังคมทุกมิติ โดยเฉพาะ ครอบครัว
ต้องพึ่งพิงชายมาตลอดในการเลี้ยงดูครอบครัว ถึงแม้ปัจจุบันสตรีมีการพัฒนาขึ้นระดับหนึ่ง
โดยมีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานหาเลี้ยงครอบครัวมากขึ้นและมีบทบาทในสังคมมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงความเป็นจริงแล้ว สถานภาพสตรียังมีความเหลื่อมล้ำในทางสังคมและด้านกฎหมาย ซึ่งปรากฏอยู่ต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสตรี
ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกเลือกปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอาชีพ
ด้านแรงงาน ด้านงานการบริการทางเพศ เช่น
ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
โรคเอดส์
ทำให้สตรีขาดโอกาสในการเข้าถึงทุนในการพัฒนาทรัพยากรทางสังคม สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากความไม่รู้เท่าทันในการนั้น
ๆ และขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย
สมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ ในฐานะเป็นองค์กรเอกชนเป็นตัวแทนของสตรี ทั่วประเทศ เห็นความสำคัญของปัญหาต่าง ๆ ของสตรี จึงจัด “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำสตรีจิตอาสา”
ขึ้น
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเป็นการส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ ความเข้าใจสิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมาย และไม่ถูกละเมิดสิทธิหรือเลือกปฏิบัติในด้านต่าง
ๆ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของสตรีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสตรีในพื้นที่ชุมชน กลุ่มแรงงาน
ให้ได้รับความรู้เพิ่ม
มีความสามารถด้านต่าง ๆ ทักษะ เทคนิค
และโดยเฉพาะด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับสตรีสิทธิมนุษยชนชั้นพื้นฐานการพัฒนาบุคลิกภาพ
กายใจ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสตรีให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและนำไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัว ชุมชน
สังคม
ส่งผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต
อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติสืบไป
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจสิทธิหน้าที่
บทบาท ความสำคัญของสตรีตามกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับสตรี
2.
เพื่อเพิ่มโอกาสให้สตรีมีความก้าวหน้า มีภาวะเป็นผู้นำในกลุ่มสตรีชุมชน
สังคม และบทบาททุกมิติในสังคม
3. เพื่อเสริมสร้างปลูกฝังเจตคติ ด้านความเสมอภาคระหว่างชายหญิง
4. เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพขั้นพื้นฐาน เช่น การแต่งกายให้ดูเหมาะสมสง่างาม หลักการพูดในการ
เป็นผู้นำที่ดีของชุมชน สังคมเพื่อให้เกิดความรักและความศรัทธาในกลุ่มสมาชิกสตรีและ
ประชาชน
5.
เพื่อพัฒนาเสริมสร้างผู้นำสตรีให้รู้จักการริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ (Creative
Thinking) เช่น
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีของคนในสังคม
(Change
Behavior)
6. เพื่อพัฒนาคุณธรรมประจำใจ (Virtue) ของกลุ่มผู้นำสตรี